นางสาวปิยภรณ์ หาญอนุสรณ์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชา การบริหารการศึกษา (ภาคพิเศษ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ยินดีต้อนรับค่ะ

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพทางการศึกษา

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยให้มีการประกันทั้ง
การประกันคุณภาพภายใน และ การประกันคุณภาพภายนอก ให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร โดย
(1) ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(2) จัดทำรายงานประจำปีเสนอ หน่วยงานต้นสังกัด , หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและรองรับการประกันคุณภาพภายนอก (มาตรา 48)
ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทอย่างยิ่งในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
โรงเรียนจะต้องพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา โดยอาศัยหลักการดังนี้
(1) เป้าหมายสำคัญของการประกันคุณภาพ คือ การพัฒนาผู้เรียน
(2) ถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร
(3) ถือว่าบุคลากรทุกคนรวมทั้งที่เกี่ยวข้อง (เช่นคณะกรรมการสถานศึกษา) มีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในการประกันคุณภาพตั้งแต่การวางแผน การติดตามประเมินผล การพัฒนาปรับปรุง การช่วยคิด ช่วยทำช่วย ผลักดัน ฯลฯ
ขั้นตอนการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรมีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
1. การเตรียมการ สถานศึกษาควรเตรียมการในเรื่องต่อไปนี้
1.1 การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องจัดให้บุคลากรในสถานศึกษามีความพร้อม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.1.1 การสร้างความตระหนัก ผู้บริหารถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้บุคลากร ซึ่งได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เกิดความตระหนักเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารอาจใช้เทคนิควิธีการ เช่น
- สร้างทีมงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
- ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดร่วมกันวางแผนและร่วมกันทำงาน
- สร้างมนุษยสัมพันธ์ในการดำเนินงาน
- เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงาน
- มีภาวะผู้นำทางวิชาการ ฯลฯ
1.1.2 การสร้างเสริมความรู้ อาจทำได้โดย
-ผู้บริหารและบุคลากรของสถานศึกษาที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ชี้แจงถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา
-เชิญบุคลากรภายนอกสถานศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจมาเป็นวิทยากร
-นำบุคลากรในสถานศึกษาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานในสถานศึกษาที่มีความพร้อมหรือประสบผลสำเร็จจากการประกันคุณภาพการศึกษา
1.1.3 การกำหนดความรับผิดชอบ ผู้บริหารสถานศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องจัดโครงสร้างและระบบการทำงานให้ชัดเจนพร้อมกับกำหนดและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนและแต่ละส่วนงานตามโครงสร้างและระบบงานที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจนเพื่อมิให้การดำเนินงานซ้ำซ้อนและขัดแย้งกันและเพื่อให้การดำเนินงานทุกภาระงานมีผู้รับผิดชอบอย่างแท้จริง
1.2 การศึกษาข้อมูลสารสนเทศ
การบริหารจัดการและการตัดสินใจดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานี้จะต้องมีการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ เช่น
- ผลการดำเนินการและการประเมินตนเองในรอบปีที่ผ่านมา
- นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนตนเอง ฯลฯ
2. การดำเนินการ
มีการวางแผนปฏิบัติงานโดยการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน / แผนพัฒนาการศึกษา (P)
การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ (D) , การประเมินตนเอง (C) , และการปรับปรุง (A) มีรายละเอียดดังนี้
2.1 การจัดทำธรรมนูญโรงเรียน / แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Plan) ธรรมนูญโรงเรียนมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ภาพรวมของสถานศึกษา ความคาดหวังของสถานศึกษา พันธกิจ เป้าหมาย
จุดเน้นในการดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ แผนงบประมาณ บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในสถานศึกษา
2.2 การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ (Do) บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบไว้แล้วจะเป็นตัวขับเคลื่อนทำให้โครงการในแผนดำเนินไปได้ ระหว่างการดำเนินการอาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดขั้นตอนของการดำเนินการได้ เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ผู้บริหารควรจัดให้มีการส่งเสริม สนับสนุน จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ติดตาม ดูแล กำกับ และการนิเทศดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2.3 การประเมินตนเอง (Check) การประเมินตนเอง คือ กระบวนการในการบริหารจัดการศึกษาที่ใช้ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา
ขั้นตอนการประเมินตนเอง มี 6 ขั้นตอน คือ 1. การสร้างความตระหนัก 2. การเตรียมความพร้อม
3.วางแผนการประเมินตนเอง 4.การประเมินตนเอง 5.เขียนรายงานและการเผยแพร่6.นำผลการประเมินไปใช้
การประกันคุณภาพภายใน เป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่ ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องดำเนินการและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษามีคุณภาพรอบด้านและเป็นพื้นฐานในการสร้างคุณภาพของสังคม หน่วยงานต้นสังกัดจึงมีภาระในการสนับสนุนให้เกิดการประกันคุณภาพในสถานศึกษา การดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัดอาจทำได้ในแนวทางต่อไปนี้
1. จัดทำคู่มือ / แนวทางการดำเนินงาน 2. นิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือ 3. ระดมกำลังช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
4. กระตุ้นสถานศึกษาให้ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน 5. ประสานการประเมินกับสถานศึกษา
6. นำผลการประเมินตนเองมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น: